‘มิชลิน’ จับมือ ‘ไพโรเวฟ’ ขับเคลื่อนเทคโนโลยีรีไซเคิลขยะ

ข่าวรถวันนี้ : กลุ่มมิชลินและบริษัทสัญชาติแคนาดา ‘ไพโรเวฟ’ (Pyrowave) ผสานพลังเพื่อเร่งขับเคลื่อน นวัตกรรมด้านเทคโนโลยีการรีไซเคิลขยะพลาสติกออกสู่ตลาดให้เร็วขึ้น

ข่าวรถวันนี้ : กลุ่มมิชลินและบริษัทสัญชาติแคนาดา ‘ไพโรเวฟ’ (Pyrowave) ผสานพลังเพื่อเร่งขับเคลื่อน นวัตกรรมด้านเทคโนโลยีการรีไซเคิลขยะพลาสติกออกสู่ตลาดให้เร็วขึ้น

  • ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะผลักดันเทคโนโลยีดังกล่าวเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมอย่างเร่งด่วน
  • เทคโนโลยีนี้มุ่งเพิ่มสัดส่วนการใช้วัสดุที่ยั่งยืน ทั้งในการผลิตยางล้อของมิชลินและใน
    อุตสาหกรรมอื่นๆ
  • นวัตกรรมด้านเทคโนโลยีการรีไซเคิลขยะพลาสติกสู่ภาคอุตสาหกรรม

‘ไพโรเวฟ’ ผู้บุกเบิกการใช้ไฟฟ้าในกระบวนการทางเคมีและการรีไซเคิลพลาสติก และ ‘มิชลิน’ ผู้นำด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีการสัญจรอย่างยั่งยืน ตกลงใจร่วมกันยกระดับนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีการรีไซเคิลขยะพลาสติกสู่ภาคอุตสาหกรรม ได้ประกาศการทำข้อตกลงร่วมพัฒนากับกลุ่มมิชลิน ทั้งนี้ เทคโนโลยีที่ ไพโรเวฟ พัฒนาขึ้นช่วยให้เกิดความเป็นไปได้ที่จะผลิตสไตรีนรีไซเคิล (Recycled Styrene) จากพลาสติกที่ใช้ทำบรรจุภัณฑ์ แผ่นฉนวนกันความร้อน และ/หรือเครื่องใช้ในครัวเรือนต่างๆ สไตรีนที่ได้จากการรีไซเคิลนี้เป็น‘โมโนเมอร์’[1] (Monomer) ที่สำคัญชนิดหนึ่ง ซึ่งใช้ในการผลิตโพลีสไตรีน (Polystyrene) และยางสังเคราะห์สำหรับยางล้อและสินค้าอุปโภคบริโภคจำนวนมาก

 

ข่าวรถวันนี้ : กลุ่มมิชลินและบริษัทสัญชาติแคนาดา ‘ไพโรเวฟ’ (Pyrowave) ผสานพลังเพื่อเร่งขับเคลื่อน นวัตกรรมด้านเทคโนโลยีการรีไซเคิลขยะพลาสติกออกสู่ตลาดให้เร็วขึ้น

 

ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ที่อยู่เบื้องหลังเทคโนโลยี ไพโรเวฟ ช่วยให้สามารถรีไซเคิลพลาสติกด้วยการใช้คลื่นไมโครเวฟ เทคโนโลยีนี้แตกต่างจากกระบวนการทางความร้อน (Thermal Process) ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เพราะช่วยรีไซเคิลขยะพลาสติกให้กลายเป็นวัตถุดิบคุณภาพสูงด้วยการใช้กระแสไฟฟ้า ซึ่งเป็นรูปแบบพลังงานที่ปัจจุบันมีศักยภาพในการกำจัดคาร์บอนได้สูงสุด นอกจากเทคโนโลยีดังกล่าวจะมีความเที่ยงตรงกว่าเทคโนโลยีทั่วไปแล้ว ยังให้ผลผลิตในปริมาณสูงกว่าซึ่งสามารถนำมาใช้แทนวัตถุดิบตั้งต้นจากน้ำมันหรือก๊าซ

ข้อตกลงร่วมพัฒนาระหว่าง มิชลิน และ ไพโรเวฟ ครั้งนี้จะส่งผลต่อการนำห่วงโซ่คุณค่าใหม่ๆ ไปใช้ในระบบเศรษฐกิจแบบหมุนเวียนด้านพลาสติก ส่งผลให้เกิดความเป็นไปได้ในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ใหม่หรือการผลิตสินค้าใหม่ๆ จากพลาสติกรีไซเคิลในภาคยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ หรือยางล้อ

พัฒนาชุดสาธิตทางอุตสาหกรรมภายในปี 2566

มิชลิน และ ไพโรเวฟ จะทำงานร่วมกันตลอดระยะเวลาหลายเดือนข้างหน้าเพื่อผลักดันเทคโนโลยี ไพโรเวฟ เข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมอย่างเร่งด่วน โดยมีเป้าหมายที่จะได้รับใบรับรองและเปิดตัวทำตลาดเชิงพาณิชย์ในตลาดต่างๆ ทั่วโลก ข้อตกลงการร่วมพัฒนานี้ซึ่งใช้งบลงทุนทั้งสิ้นมากกว่า 20 ล้านยูโร จะผสานความเชี่ยวชาญของ ไพโรเวฟ เข้ากับทักษะความชำนาญทางอุตสาหกรรมของมิชลิน

เพื่อผลักดันให้การตรวจสอบยืนยันเทคโนโลยีดังกล่าวและการออกใบรับรองผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว ทีมงานด้านเทคนิคของมิชลินจะทำงานร่วมกับทีมงานด้านเทคนิคของ ไพโรเวฟ เพื่อพัฒนาชุดสาธิตทางอุตสาหกรรมขึ้นภายในปี 2566 โดยมิชลินจะเป็นผู้สนับสนุนเงินทุนและดำเนินการทดลองชุดสาธิตดังกล่าว ทั้งนี้ เทคโนโลยีดังกล่าวจะเป็นไปตามมาตรฐานขั้นสูงสุดที่กลุ่มมิชลินกำหนดในด้านความปลอดภัย การดำเนินงาน และสมรรถนะ มุ่งเพิ่มสัดส่วนการใช้วัสดุที่ยั่งยืน ทั้งในการผลิตยางล้อของมิชลินและในอุตสาหกรรมอื่นๆ

 

ข่าวรถวันนี้ : กลุ่มมิชลินและบริษัทสัญชาติแคนาดา ‘ไพโรเวฟ’ (Pyrowave) ผสานพลังเพื่อเร่งขับเคลื่อน นวัตกรรมด้านเทคโนโลยีการรีไซเคิลขยะพลาสติกออกสู่ตลาดให้เร็วขึ้น

 

หลังจากประเมินผลมาเป็นเวลา 1 ปี มิชลินไม่เพียงได้เห็นภาพการทำงานของกระบวนการรีไซเคิลดังกล่าว แต่ยังได้ทดลองนำตัวอย่างสไตรีนที่ได้จากการรีไซเคิลมาใช้เป็นองค์ประกอบของยางมิชลิน กระบวนการผลิตโพลีเมอร์ขึ้นมาใหม่นี้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์เชิงกลยุทธ์ของกลุ่มมิชลินและเป้าหมายในการผลิตสินค้าที่ยั่งยืน

โซเนีย อาร์ติเนียน-เฟรดู (Sonia Artinian-Fredou) รองประธานบริหาร ฝ่ายบริการพร้อมโซลูชั่นและวัสดุไฮเทค ของกลุ่มมิชลิน เปิดเผยว่า “การร่วมพันธมิตรครั้งนี้สะท้อนถึงกลยุทธ์ที่ยั่งยืนของกลุ่มมิชลิน ซึ่งมีเป้าหมายที่จะผลิตยางล้อด้วยวัสดุที่มีความยั่งยืนมากขึ้นและส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีเหล่านี้ในช่องทางการรีไซเคิลต่างๆ ทั้งนี้ เราเชื่อในศักยภาพของเทคโนโลยีไพโรเวฟและมีวิสัยทัศน์สอดคล้องกันในการขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อมุ่งสู่อนาคตที่ยั่งยืนยิ่งขึ้น”

โจเซลีน ดูเซต์ (Jocelyn Doucet) ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานกรรมการบริหาร ไพโรเวฟ กล่าวว่า “การร่วมพันธมิตรครั้งนี้เป็นสัญญาณของการเริ่มต้นยกระดับเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรม โดยอาศัยความชำนาญและความแข็งแกร่งทางเทคนิคของกลุ่มมิชลิน อีกทั้งพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ครั้งนี้ยังสะท้อนถึงความน่าสนใจและศักยภาพของการใช้ไฟฟ้าในกระบวนการทางเคมี…ทั้งในเชิงสิ่งแวดล้อมและเชิงพาณิชย์…สำหรับผู้ที่ต้องการมีบทบาทด้านห่วงโซ่คุณค่าระดับโลก การร่วมพันธมิตรกับมิชลินส่งผลให้เราอยู่ในจุดที่สามารถพัฒนาเทคโนโลยีที่ล้ำหน้าเพื่อทำให้เกิดวัสดุแห่งอนาคตอย่างยั่งยืน”