เกียร์อัตโนมัติ ขับให้ดี ใช้ให้เป็น มันไม่เสียง่าย ๆ

เกียร์อัตโนมัติ ขับให้ดี ใช้ให้เป็นไม่เสียง่าย ๆ

 

ระบบเกียร์อัตโนมัติที่ใช้อยู่ในบ้านเรา ทั้งแบบ Lock-UP Torque Converter และ CVT หรือ Constantly Variable Transmission นั้น ถูกคัดสรรจากบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ เพื่อนำมาติดตั้งกับเครื่องยนต์ แต่ละรุ่นเพื่อความเหมาะสม ส่วนใหญ่ต้องทำการทดสอบร่วมกับบริษัทผู้ผลิตเกียร์ รวมถึงการกำหนดค่าสเป็คของเกียร์ ให้เหมาะสมกับการทำงานของเครื่องยนต์รุ่นนั้น ๆ

 

ในบ้านเรา (ประเทศไทย) เป็นเมืองร้อน มีการจรจรติดขัดท่ามกลางอุณหภูมิที่สูงอยู่ตลอดเวลา ดังนั้น อายุการใช้งานของเกียร์ รวมถึงความทนทานของเกียร์ ในรถบางรุ่นอาจจะมีการสึกหรอที่รวดเร็ว และเสื่อมสภาพก่อนกำหนด ยิ่งในรถบางรุ่น เกียร์พังเร็วกว่าที่คิด ต้องเคลมกับบริษัทผู้ผลิตรถยนต์กันจนเป็นข่าวใหญ่โตมากมาย

สิ่งที่สำคัญ ผู้ใช้รถควรจะเข้าจะถึงการทำงานของระบบเกียร์ รวมถึงวิธีกาสรใช้งานที่ถูกต้องไว้ด้วย อย่างน้อยก็ช่วยยืดอายุการใช้งานของรถ เกียร์ รวมถึงประหยัดค่าใช้จ่าย ในการซ่อมบำรุง (หลายตังค์!!) ได้ด้วย

เกียร์อัตโนมัติ (Automatic Transmission) หรือเรามักจะเรียกกันสั้น ๆ ว่า “เกียร์ออโต้” อุปกรณ์สำคัญในการขับเคลื่อนของรถยนต์ เพราะหากรถมีแค่เครื่องยนต์ ก็ยังไม่สามารถขับเคลื่อนได้ ถ้าขาดระบบเกียร์

เมื่อก่อน ถ้าคุยกับผู้สูงอายุ ส่วนใหญ่ มักจะชอบขับรถเกียร์ธรรมดา กันทั้งนั้น แต่ปัจจุบันเมื่อความเจริญเข้าถึง เทคโนโลยีล้ำสมัย ทุกคนต้องการความสะดวกสบาย เมืองใหญ่ การจราจร แออัด และติดขัด เราต่างหันมาอยากใช้รถที่ขับเคลื่อนด้วยระบบเกียร์อัตโนมัติ หรือ Automatic Transmission มากขึ้น ปัจจุบัน ระบบเกียร์ออโต้เมติกรุ่น ใหม่ๆ Lock-UP Torque Converter ที่ใช้ ECU ช่วยควบคุมการทำงาน ให้ทั้งแม่นยำ นุ่มนวล และสะดวกสบาย มาก นอกจากนี้ยังมี ระบบเกียร์ CVT หรือ Constantly Variable Transmission ที่นิยมใช้ในรถญี่ปุ่น ยุคนี้เปลี่ยนเกียร์ได้นุ่มนวลแม่นยำ ระบบการทำงานยังไม่ยุ่งยากอย่างเกียร์ออโต้สมัยก่อนอีกด้วย

 

ตำแหน่งเกียร์ บอกอะไร ?

ตำแหน่งเกียร์ จะบอกไว้ที่แป้นหรือเพจคันเกียร์ และในหน้าปัดเรือนไมล์ ตัวอย่างเฉพาะในรถรุ่นปัจจุบันที่เกียร์อัตโนมัติจะมี 6-9 จังหวะ แล้ว ส่วนใหญ่จะมีสัญลักษณ์แสดงไว้ประมาณนี้

ตำแหน่งตัว P เป็นตำแหน่งที่ใช้ในการจอดรถ ซึ่งย่อมาจากภาษาอังกฤษ Parking แปลว่าจอดรถ ซึ่งจังหวะนี้เพลาขับจะถูกล็อกทำให้รถเคลื่อนตัวไม่ได้ ทุกครั้งที่จอดรถในทางชัน (จอดรถนะครับ ไม่ใช้หยุดรถชั่วคราว!!) เพื่อป้องกันรถไหลควรใช้ร่วมกับเบรกมือ แต่หากไปจอดตามห้างสรรพสินค้าหรือลานจอดรถ ถ้าจอดตามขวาง ต่อทายคันอื่น ไม่ควรใช้ ตำแหน่ง P เพราะหากไปขวางทางผู้ อื่นแล้ว จะทำให้รถคันอื่นไม่สามารถออกได้ เสียเวลา ถ้าติดต่อไม่ได้ก็จะยุ่งยากใช้บริการที่ยกรถอีก

ตำแหน่งตัว R ซึ่งย่อมาจาก Reverse คือ ตำแหน่งเกียร์ถอยหลัง ถ้าจะขยับคันเกียร์จากตำแหน่งอื่นมาในตำแหน่ง R นี้ สามารรถทำได้ในขณะรถหยุดนิ่ง เหยียบแป้นเบรกให้สุด หรือ ถ้าดับเครื่องอยู่อาจต้องกดปุ่มล็อคคันเกียร์ เพื่อปลดล็อค ก็สามารถทำได้ คำเตือนที่ไม่ควรกระทำคือการขับรถในลักษณะ เจเทิร์น หรือใส่เกียร์ R ถอยหลังเร็ว ๆ และยาว ๆ ทำเจเทิร์น หมุนพวงมาลัยสุด แล้วเปลี่ยนมาเป็นเกียร์ D เพื่อเดินหน้า ทำให้เกียร์สึกหรอและพังไวกว่าปกติมาก

 

 

ตำแหน่งตัว N เกียร์ว่าง ภาษาอังกฤษ Natural ตำแหน่งนี้ เหมือนกับเกียร์ว่างในรถเกียร์ธรรมดา สามารถเข็นได้ เวลาจอด กรณีจอดรถขวางรถคันอื่น ๆ แต่ต้องเป็นพื้นราบเรียบด้วย จอดติดไฟแดงนาน ๆ เปลี่ยนจากใส่เกียร์ D แล้ว เหยียบเบรกค้าง เลือนลงมาตำแหน่ง N ถ้าไม่ชัวร์ ดึงเบรคมือช่วย เพื่อความสบายใจ

ตำแหน่งตัว D หรือ Drive เป็นตำแหน่งที่ให้รถขับเคลื่อนไปด้านหน้า โดยทุกเกียร์จะทำงานไล่เรียงกันไป ตั้ง
แต่ออกตัวครบทุกเกียร์ ตามความเร็วที่ตั้งโปรแกรมไว้ ปกติเมื่อเราขับขี่รถทั่ว ๆ ไปจะใช้ตำแหน่ง D อย่างเดียว

 

 

ตำแหน่ง (L/S) หรือตัวเลข 1- 2 หมายถึงตำแหน่งเกียร์ต่ำ แต่มีอัตราทดสูง คือ เกียร์ L,S /1 และ 2 เท่านั้น ส่วนใหญ่จะเอาไว้ใช้งานในช่วงที่ต้องการกำลังในการ ขับเคลื่อนสูง ๆ เช่น การขับรถในทางที่เป็นเนินเขาสูงชันมาก ๆ หรือการออกตัวบนเนินสูงชัน หรือจุดที่ต้องการกำลังขับเคลื่อนสูง นอกจากนี้ เกียร์ อัตราทดสูง ช่วยในขณะขับรถลงจากที่สูง โดยเครื่องยนต์จะช่วยเบรคผ่านอัตราทดเกียร์ ทำให้รถจะมีจังหวะหน่วงลงมากกว่าการใช้ตำแหน่งเกียร์ D ลงเขา ช่วยลดการทำงานของเบรก อีกด้วย

 

 

จังหวะการเปลี่ยนเกียร์ หรือที่เรียกว่า คิก ดาวน์ (Kick Down)

คิก ดาวน์ (Kick Down) เพื่อเปลี่ยนจังหวะการทำงานของเกียร์ ลดลงมา 1 ตำแหน่ง เช่น รถที่ขับ ความเร็วประมาณ 100 กม./ชม. (อัตราทดเกียร์ 5) แล้วเหยียบคันเร่งสุดเกียร์จะเปลี่ยนจากเกียร์ 5 ลงเกียร์ 4 สังเกตจากรอบเครื่องยนต์จะสูงขึ้นเพียงเล็กน้อย

คิก ดาวน์ (Kick Down) เพื่อ เปลี่ยนจังหวะเกียร์ลงมา 2 ตำแหน่ง เช่น ขับรถที่ ความเร็วประมาณ 80 กม./ชม. (อัตราทดเกียร์ 5) แล้ว เหยียบคันเร่งสุดเกียร์จะเปลี่ยนจากเกียร์ 5 ลงเกียร์ 3 ทันที เพื่อให้อัตราทดเกียร์เหมาะสมกับความเร็วขณะขับขี่ ทำให้เครื่องยนต์มีอัตราเร่งมากขึ้น สังเกตจากรอบเครื่องยนต์ที่สูงขึ้นมากกว่าการคิกดาวน์ (Kick Down) 1 ตำแหน่ง

 

 

ขับอย่างไร..?… ช่วยถนอมเกียร์

ผู้ขับ มักเข้าใจผิดเกี่ยวกับการขับรถที่ขับเคลื่อนด้วยระบบเกียร์อัตโนมัติ โดยเฉพาะ การใช้วิธีคิกดาวน์ แทบทุกครั้งที่ต้องการเร่งแซงหรือเมื่อต้องการกำลัง รู้หรือไม่ว่า การคิกดาวน์ นั้นทำให้การทำงานของเกียร์ หนักขึ้น เพราะเกียร์จะมีรอบการขับเคลื่อนสูง ในช่วงคิกดาวน์ตลอด ผลที่ตามมาคือ ความร้อนสะสมในน้ำมันเกียร์จะสูงขึ้น เป็นผลทำให้น้ำมันเกียร์เสื่อมสภาพเร็ว ชิ้นส่วนภายในเกียร์สึกหรอมากขึ้น เกียร์ก็จะเสื่อมสภาพเร็วขึ้นเช่นกัน

ดังนั้นการใช้เกียร์อัตโมัติ ควรออกตัวอย่างนุ่มนวล ใช้งานในแบบธรรมชาติ กดคันเร่งหรือคิกดาวน์ ตามการใช้งานปกติจะดีที่สุด ไม่ตะบี้ตะบันกระทืบคันเร่ง เปลี่ยนเกียร์ ตามอารมณ์ของผู้ขับ เรียกง่าย ๆ ว่าขับรถอย่างมีสติ

 

 

เบรกหยุดให้สนิท ก่อนทำการเปลี่ยนเกียร์ ระบบการทำงานของเกียร์อัตโนมัติ นั้น ผู้ขับควรทำการเหยียบเบรกให้หยุดสนิททุกครั้ง ก่อนเปลี่ยนตำแหน่งเกียร์ จาก N มายังตำแหน่ง D หรือ R ซึ่งการเหยียบเบรก จะช่วยให้ ระบบส่งกำลังไม่เกิดการกระชาก จากการทำงานของเกียร์ ที่ยังไม่หยุด แล้วรีบปรับเปลี่ยนทันที เช่น ถอยหลัง R แล้วรถหยุดไม่สนิท ก็รีบเลื่อนคันเกียร์ มาตำแหน่ง D เพื่อเดินหน้า หรือทำกลับกัน การเปลี่ยนเกียร์แบบไม่กระชาก หมายถึงการที่ระบบเกียร์ทำงานอย่างลื่นไหล เพื่อช่วยลดสึกหรอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระบบเกียร์ใหม่ๆ อย่าง CVT

เหยียบเบรก ค้างเกียร์ ในตำแหน่ง D ผู้ใช้รถ หลายท่านมีข้อเคลือบแคลง สงสัย กับเรื่องของการตำแหน่งเกียร์ และเบรก เมื่อเจอะเจอกับปัญหารถติดไฟแดง ขับแบบหยุด ๆ ไป ๆ ควรทำอย่างไร จริง ๆ แล้ว อยู่ที่ความถนัด แต่ถ้ารถติดนานเกินไป แล้ว ใช้การเหยียบเบรกค้างเพื่อหยุดรถดดยค้างตำแหน่งเกียร์ไว้ การทำอย่างว่านั้น ไม่ผิด (เอาที่สบายใจ) แต่ในระยะยาว มีผลเสียมากกว่า เพราะมีการสึกหรอต่อชิ้นส่วน ชุด torque Converter ซึ่งรับกำลังจากเครื่องยนต์โดยตรง โดยด้านหนึ่งติดกับเครื่องยนต์ อีกด้านติดกับชุดเกียร์ ซึ่งการที่เราเบรก คือการที่เราหยุดรถไม่ให้เคลื่อนไปข้างหน้า ในขณะที่ชุดเกียร์นั้นยังคงทำงาน มีแรงผลักดันไปข้างหน้าตลอดเวลา ซึ่งหมายถึงความร้อนที่มากขึ้นด้วย ดังนั้นถ้ารถติดนานเกิน หันมาปลดเกียร์มาในตำแหน่ง N จะดีกว่า ถ้ากลัวรถไหล ก็ดึงเบรกมือซะ

 

 

ถอยหลังแบบ เจเทิร์น เพื่อเดินหน้าทันที…! อย่าทำเด็ดขาด ทุกวันนี้ บรรดามืออาชีพที่ได้รับการฝึกฝนกันเป็นประจำ มักจะชอบโชว์การขับขี่ในลีลาต่าง ๆ โดยเฉพาะการทำ เจ เทิร์น ซึ่งถ้าเป็นรถเกียร์ ธรรมดา ว่าไปอย่าง บางรายนำรถเกียร์ อัตโนมัติมาโชว์ แบบว่า ข้าเก่ง ขับคันไหนก็ทำได้ หารู้ไม่ว่าบรรดา แฟนคลับ ไทยมุงที่เขาคอยสังเกตุ ส่วนใหญ่ ชอบจะครูพักลักจำ นำไปฝึกฝน บางรายเห็นเขาใช้เกียร์อัตโนมัติได้ ก็ใช้บ้าง การกระทำเช่นนั้น ไม่เคยมีผลดีต่อระบบเกียร์เลย เพราะ แรงที่หมุนสวนทางกันอย่างรุนแรง จะเป็นอันตรายร้ายแรงต่อชุดเฟือง ทอร์ค สายพาน และ ลูกปืน มากมาย เผลด ๆ เกียร์จะพังคาตีนเอาง่าย ๆ

ระบบเกียร์อัตโนมัติ ช่วยให้ความสะดวกในการขับขี่ได้มาก แต่อย่าลืมว่าการใช้งานที่ถูกต้อง คือเรื่องสำคัญ อย่างที่กล่าวตอนต้น มีเครื่องยนต์ ไม่มีระบบเกียร์ รถก็ไม่สามรถขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้ ระบบเกียร์ นั้น มีกลไกล ที่ซับซ้อนพอสมควร ปัญหาของเกียร์ เกิดได้ในหลาย ๆ รูปแบบ ดังนั้นการยืดอายุการใช้งานของเกียร์ รวมถึงการดูแลรักษาให้ถูหกวิธี เปลี่ยนถ่านยน้ำมันเกียร์ตามกำหนดเวลา อย่าลืม บ้านเราเป็นเมืองร้อน รถติด อุณภูมิสะสมในห้องเกียร์ มันสูงนะจะบอกให้.